คลอรีน

หน้าหลัก > สินค้าทั่วไป > กรดกำมะถัน98%

  • Specifications
    Sulphuric Acid 98% - 
    Grades available : Technical Grade/Commercial grade 
    Battery Grade 
    Sulphuric Acid is a Clear colorless liquid.
     •Properties          : Strongly corrosive, dense, oily liquid, very reactive
    •Specific Gravity  : 1.84
    •Hazard Class     : 8
    •Packing Group   : II
    •Uses                    : Fertilizers, Chemicals, Dyes & Pigments, etchant, iron & steel, rayon & film,  
    Industrial explosives, Batteries 
    •Hazards               : Strong irritant to tissue
    Specific Gravity     : 1.84
               กรดกำมะถัน หรือ Sulphuric Acid 98% เป็นกรดทีมีความกัดกร่อนสูง เป็นของเหลวมีความร้อนในตัวสูง
          กรดกำมะถันหรือSulphuric Acid 98% เป็นกรดที่มีความกัดกร่อนสูง เป็นของเหลวมีความร้อนในตัวสูง มีกลิ่นฉุนมากถ้าสัมผัสกรดกำมะถันโดยตรงจะเป็นอันตรายมากเพราะไอของกรดกำมะถันจะมีความร้อนสามารถทำให้เยื่อบุตา , เยื่อจมูก , เกิดการอักเสบได้ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนอย่างรุนแรง ดังนั้นก่อนใช้กรดกำมะถันควรสวมถุงมือยางป้องกันกรด สวมหน้ากากและสวมชุดป้องกันให้มิดชิดและควรอ่านคู่มือความปลอดภัยก่อนใช้อย่างละเอียด       การใช้ประโยชน์ของกรดกำมะถัน98%
     กรดกำมะถันใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้มากมาย ผ่านทางอนุพนธ์ของมันคือ กรดซัลฟิวริก (H2SO4) กำมะถันถูกจัดให้เป็นหนึ่งในธาตุที่มีความสำคัญในการเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมมาก อาจจะกล่าวได้ว่ามันมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลก
    การผลิตกรดซัลฟิวริก ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ปลายทางหลักของธาตุกำมะถัน และการบริโภคกรดซัลฟิวริก ถือเป็นดรรชนีชี้วัดที่ดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมของชาติ ในสหรัฐอเมริกามีการผลิตกรดซัลฟูริกมากกว่าสารเคมีอื่น ประโยชน์ของมันพอสรุปได้ดังนี้
    •ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต แบตเตอรี 
    •ผงซักฟอก 
    •วัลแคไนเซชัน (vulcanization) ยาง 
    •ยาฆ่าเชื้อรา 
    •ใช้ผลิตฟอสเฟต ในอุตสาหกรรมทำปุ๋ย 
    •ซัลไฟต์ ใช้ในการฟอกสีกระดาษ 
    •เป็นสารถนอมอาหารในการผลิตไวน์ 
    •ใช้ในการอบแห้งผลไม้ 
    •เป็นส่วนผสมของไม้ขีดไฟ, ดินปืน, และ ดอกไม้ไฟ 
    •เป็นสารเคมีในงานถ่ายรูปในรูปของเกลือโซเดียมหรือแอมโมเนียม เช่น โซเดียมไทโอซัลเฟต 
    •แมกนีเซียมซัลเฟต หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกลือยิปซัม (Epsom salts) ใช้เป็นยาระบาย 
    •เป็นอาหารเสริมในพืช 
    •การบำบัดน้ำเสีย 
    •การทำลูกเหม็น 
    •การใช้ในห้องสุขาชาย 
         สารประกอบของกำมะถัน98%
    ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) หรือ ก๊าซไข่เน่า มีกลิ่นเหม็นมาก ตัวมันเองมีฤทธิ์เป็นกรด ทำปฏิกิริยากับโลหะได้โลหะซัลไฟด์ ถ้าเป็นซัลไฟด์ของเหล็กเรียก ไพไรต์ หรือ ทองของคนโง่ (fool's gold) มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำFeS
    กลิ่นเหม็นที่ไม่พึงปรารถนาของสารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ จะเป็นสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น
    •เอตทิล และ เมตทิล เมอร์แคปแทน ใช้ผสมในก๊าซธรรมชาติเพื่อการตรวจสอบว่ามีก๊าซรั่วหรือไม่ 
    •กลิ่นของกระเทียม และตัวสกังก์ ก็เกิดจากสารประกอบอินทรีย์ที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่ 
          สารประกอบอื่นของกำมะถัน98%ที่สำคัญมีดังนี้
    สารประกอบประเภทอนินทรีย์ 
    •ซัลไฟด์ (S2-) เป็นสารประกอบอย่างง่ายที่สุดของธาตุกำมะถันกับธาตุอื่น 
    •ซัลไฟต์ (SO32-), เป็นเกลือของ กรดซัลฟิวรัส, H2SO3, ได้จากการละลาย SO2 ในน้ำ, กรดซัลฟิวรัสและสารประกอบซัลไฟต์เป็นรีดิวซิ่งเอเจนต์อย่างแรง สารประกอบอื่นที่เป็นอนุพันธ์ของ SO2 ประกอบด้วย ไพโรซัลไฟต์ (pyrosulfite) หรือ เมต้าไบซัลไฟต์ ( metabisulfite) ไอออน (S2O52−). 
    •ซัลเฟต (SO42-), เกลือของ กรดซัลฟิวริก เมื่อกรดซัลฟูริกทำปฏิกิริยากับ SO3 ในสัดส่วนโมเลกุลที่เท่ากันจะได้ กรดไพโรซัลฟิวริก (H2S2O7) 
    •ไทโอซัลเฟต (บางครั้งเรียก ไทโอซัลไฟต์ หรือ ไฮโปซัลไฟต์ (thiosulfites or "hyposulfites") (S2O32−) ใช้ในงานถ่ายรูป 
    •โซเดียมไดไทโอไนต์, Na2S2O4 จากกรดไทโอซัลฟูรัส/ไดไทโอรัส (hyposulfurous/dithionous acid), เป็นรีดิวซิ่งเอเจนต์อย่างแรง* โซเดียมไดไทโอเนต (Na2S2O6) 
    •กรดพอลิไทโอนิก (H2SnO6), ตัวอักษร n สามารถมีค่าจาก 3 ถึง 80. 
    •กรดเปอร์ออกซิโมโนซัลฟิวริก (Peroxymonosulfuric acid-H2SO5) และ กรดเปอร์ออกซิไดซัลฟิวริก (peroxydisulfuric acid-H2S2O8), ได้จากปฏิกิริยาของ SO3 กับสารละลายเข้มข้นของ H2O2, และ H2SO4 กับสารละลายเข้มข้นของ H2O2 ตามลำดับ 
    •โซเดียมพอลิซัลไฟด์ (Sodium polisulfide-Na2Sx) 
    •ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (Sulfur hexafluoride) SF6, เป็นก๊าซโพพิแลนต์ไม่มีพิษไม่ไวต่อปฏิกิริยา 
    •เตตร้าซัลเฟอร์เตตร้าซัลไนไตรด์ (Tetrasulfur tetranitride) S4N4. 
    •ไทโอไซยาเนต (Thiocyanate) เป็นสารประกอบที่มีไทโอไซยาเนตไอออน, SCN- เกี่ยวข้องกับ ไทโอไซยาโนเจน, (thiocyanogen-SCN)2. 
           สารประกอบอินทรีย์ 
    •ไดเมตทิลซัลโฟไนโอโพรพิโอเนต (dimethylsulfoniopropionate-DMSP; (CH3 )2S+CH2CH2COO-) ซึ่งเป็นส่วนประกอบกลางของวงจรของกำมะถันอินทรีย์ในทะเล 
    •ไทโออีเทอร์ (thioether) เป็นโมเลกุลที่มี R-S-R, ที่ซึ่ง R และ R เป็นหมู่อินทรีย์ที่กำมะถันสมมูลกับ อีเทอร์ 
    •ไทโอล (thiol หรือเรียกอีกอย่างว่า mercaptan) เป็นโมเลกุลที่มี หมู่ฟังก์ชัน-SH มีกำมะถันสมมูลกับ แอลกอฮอล์ 
    •ไทโอเลตไอออน (thiolateion) มี หมู่ฟังก์ชัน -S- มีกำมะถันสมมูลกับ อัลคอกไซด์ไอออน (alkoxideions) 
    •ซัลฟอกไซด์ (sulfoxide) เป็นโมเลกุลที่มี R-S(=O)-R หมู่ฟังก์ชัน R และ R เป็นหมู่อินทรีย์ ตัวอย่างของซัลฟอกไซด์คือDMSO(dimethyl sulfoxide) 
    •ซัลโฟน (sulfone) เป็นโมเลกุลที่มี R-S(=O)-R หมู่ฟังก์ชันR and R เป็นหมู่อินทรีย์ 
    •รีเอเจนต์ของลอวีสสัน (Lawesson's reagent) เป็นรีเอเจนต์ที่สามารถนำอะตอมของกำมะถันไปแทนออกซิเจนได้ 
    •แนพทาเลน-1,8-ไดอิล 1,3,2,4-ไดไทอะไดฟอสฟีเทน 2,4-ไดซัลไฟด์(Napthalen-1,8-diyl 1,3,2,4-dithiadiphosphetane 2,4-disulfide
              ทางบริษัทฯ ได้จัดจำหน่ายขนาดบรรจุถังละ 35 กิโลกรัม
        ต้องการสั่งซื้อสินค้า ติดต่อคุณอรพรรณ โทร 0979282936 , คุณศุภรดา โทร 0917708536
     

Copyright © 2012 by Viriya Interchem Co.,Ltd., ทำเว็บไซต์ by WebsiteBigbang