คลอรีน

หน้าหลัก > สินค้าทั่วไป > กรดเกลือ35%

  • Specifications
    รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Data)
     ชื่อทางการค้า กรดเกลือ 35%
    ชื่อทางเคมี Hydrochloric Acid
    สูตรทางเคมี HCl
              กรดเกลือ35% หรือเรียกว่า กรดไฮโดรคลอริก สูตรทางเคมี HCL เป็นสารกัดกร่อนรุนแรง เป็นของเหลวใสมีกลิ่นฉุนมาก
          กรดเกลือ35% หรือเรียกว่า กรดไฮโดรคลอริก สูตรทางเคมี HCL เป็นสารกัดกร่อนรุนแรงเป็นของเหลวใสมีกลิ่นฉุนมาก
    เมื่อตัวกรดสัมผัสกับสิ่งใดๆเช่นโลหะของเหลวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีฟองของการกัดกร่อนมีไอระเหยเกิดขึ้นภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ใช้ได้กับกรดเกลือ35%ก็คือพลาสติกเท่านั้น ดังนั้นถ้าจะใช้กรดเกลือจะต้องศึกษาข้อมูลความปลอดภัยก่อนทุกครั้ง
          การใช้ประโยชน์กรดเกลือ35%
    ใช้ในการผลิตสารประกอบคลอไรด์, บำบัดน้ำเสีย, กัดสนิมเหล็ก, ทำปฏิกิริยาในขบวนการผลิตโดยทั่วไปใช้ในห้องปฏิบัติการและใช้ในการแยกหรือทำให้แร่ธาตุบริสุทธิ์ เช่น แร่ดีบุก แทนทาลัม
          การจำแนกสารเคมีอันตราย (Chemical Classification)
    U.N. Number CAS No สารก่อมะเร็ง
    1789 7647-01-0 -
          สารประกอบที่เป็นอันตราย (Hazardous Ingredients)
    ชื่อสารเึคมี
    (Substances) เปอร์เซ็นต์
    (Percent)   ค่ามาตรฐาน
    TLV ความปลอดภัย
    LD50
    กรดเกลือ 35% 7 mg/m3 or 5 ppm 900 mg/kg (Rabbit)
           ข้อมูลทางกายภาพและเคมี (Physical and Chemical Data)
    จุดเดือด (Boiling Point °C) 65.6-110° C
    จุดหลอมเหลว 0 °C (Melting Point °C) -53° C
    ความดันไอ (Vapour pressure) 78 mmHg @ 20° C
    การละลายได้ในน้ำ (Solubility in Water) สมบูรณ์
            ความถ่วงจำเพาะ
    (Specific Gravity (H2O = 1.0)) 1.16 @ 30° C
    อัตราการระเหย (Evaporating Rate) <1.00
            ลักษณะสี และกลิ่น
    (Appearance Colour and Odor) ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนแสบจมูก
    ความเป็นกรดด่าง (pH-value) เป็นกรด pH < 0
            ข้อมูลด้านอัคคีภัยและการระเบิด (Fire and Explosion Hazard Data)
    5.1 จุดวาบไฟ (Flash Point)
    5.2 ขีดจำกัดการติดไฟ (Flammable limits-LEL): ค่าต่ำสุด (LEL)%: NA , ค่าสูงสุด (UEL)%: NA
    5.3 อุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เอง (Autoignition Temperature)
    5.4 การเกิดปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical Reactivity)
    -ทำปฏิกิริยารุนแรงกับด่างแก่และทำให้เกิดความร้อน เช่น ไฮดรอกไซด์, คาร์บอเนต
    -ทำปฏิกิริยากับโลหะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้
    -ทำปฏิกิริยากับ Phosphide เกิดก๊าซพิษ Phosphine
    -ทำปฏิกิริยากับสาร Acetylide, Boride, Carbide เกิดความร้อนสูงและเปลวไฟ
    -ทำปฏิกิริยากับสาร Cyanide, Sulfide เกิดก๊าซอันตราย
    5.5 สารที่ต้องหลีกเลี่ยงจากกัน (Material to Avoid)
    -สารที่ทำปฏิกิริยาดังกล่าวข้างต้น
    5.6 สารอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว (Hazardous Decomposition Products)
    -ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ 
             ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ (Health Hazard Data)
    6.1 ทางเข้าสู่ร่างกาย (Ways of Exposure)
    -ระบบหายใจ ตา ผิวหนัง ระบบย่อยอาหาร
    6.2 อันตรายเฉพาะที่ (ผิวหนัง ตา เยื่อบุ) (Local Effects(Skin Eyes Moucous Membrane)
    -มีอันตรายต่อผิวหนัง ตา และเยื่อบุ ทำให้ระคายเคืองตาอย่างรุนแรง ปวดแสบและอาจบอดได้
    -ระคายเคืองต่อผิวหนังและอาจทำให้ไหม้ได้
    6.3 ผลจากการสัมผัสสารที่มากเกินไปในระยะสั้นๆ (Effects of Overexposure Short-term)
    6.4 ผลจากการสัมผัสสารที่มากเกินไปในระยะยาว (Effects of Overexposure Long-term)
    -หากได้รับเป็นเวลานานจะทำให้ตาบอดได้ และเป็นเหตุของโรคผิวหนังเรื้อรัง รวมทั้งทำให้เกิดโรคฟัน
    6.5 ค่ามาตรฐานความปลอดภัย TLV 7 mg/m3 หรือ 5 ppm
              มาตรการด้านความปลอดภัย (Safety Measures)
    7.1 ข้อมูลการป้องกันโดยเฉพาะทาง (Special Protection Information)
    7.1.1 การป้องกันไฟและการระเบิด (Fire and Explosion Prevention)
    -กรดเกลือเป็นสารที่ไม่ติดไฟ (แต่ถ้าไฟไหม้เราสามารถใช้น้ำ,โฟม,ผงเคมีแห้ง หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดับไฟ)
    7.1.2 การระบายอากาศ (Ventilation)
    -ห้ามปล่อยสู่บรรยากาศ ต้องมีหน่วยดูดกลืนไอกรดที่ระเหยออกจากภาชนะบรรจุ (HCl Vapour Scrubber)
    7.1.3 ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันทางการหายใจ (RespiratorynProtection Type)
    -กรณีที่ความเข้มข้นในอากาศต่ำ สวมหน้ากากชนิดป้องกันก๊าซชนิดคลุมทั้งหน้า แต่ถ้ามีความเข้มข้นของไอกรดมาก ต้องสวมหน้ากาก พร้อมถังบรรจุอากาศ
    7.1.4 การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับมือ (Hand Protection)
    -สวมถุงมือชนิดคลุมถึงศอก หรือชุดคลุมชนิดคลุมทั้งตัวซึ่งทำจาก PVC
    7.1.5 การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตา (Eye Protection)
    -สวมแว่นตากันสารเคมี หรือที่ครอบตา(Goggle)
    7.1.6 การป้องกันอื่นๆ
    -สวมรองเท้าบู๊ทซึ่งทำจาก PVC
    7.2 การปฐมพยาบาล (First Aid)
    7.2.1 กรณีสัมผัสสารเคมีทางผิวหนัง
    -ถอดชุดที่เปื้อนออก แล้วล้างผิวหนังที่เปื้อนด้วยน้ำอย่างน้อยที่สุด 15 นาที ถ้ายังมีอาการระคายเคือง
    -ควรไปพบแพทย์
    7.2.2 กรณีสัมผัสสารเคมีทางตา
    -ล้างตาด้วยน้ำอย่างน้อยที่สุด 15 นาที ระวังอย่าให้น้ำล้างตาไหลเข้าตาข้างที่ไม่ถูกสารแล้วนำส่งแพทย์
    7.2.3 กรณีสัมผัสสารเคมีโดยการหายใจ
    -ย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุไปที่อากาศบริสุทธิ์ ถ้าหยุดหายใจให้ช่วยหายใจ แล้วนำส่งแพทย์
    7.2.4 ข้อมูลเพิ่มเติมในการรักษาพยาบาล (ระบุการรักษาหรือแก้พิษ)
    -กรณีที่กลืนกินสารเคมีเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียน ควรให้ผู้ป่วยดื่มนม หรือน้ำใน ปริมาณมากๆ แล้วนำส่งแพทย์
              ข้อปฏิบัติที่สำคัญ (Special Instructions)
    8.1 การขนย้ายและการจัดเก็บ (Handing and Storing)
    -ภาชนะที่ขนย้ายและจัดเก็บต้องแข็งแรง ปิดได้สนิท มีฉลากกำกับชัดเจน โดยเก็บในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
    8.2 การป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี (Corrosiveness)
    -บรรจุในภาชนะที่เป็นวัสดุทนการกัดกร่อน เช่น เหล็กเคลือบผิวด้วยยางกับ PE, PP หรือพลาสติกชนิดอื่น
    8.3 การป้องกันการรั่วและการหก (Spill and Leak Procedures)
    -เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท และเตรียมถังสำรองไว้ ในกรณีที่มีการรั่วไหล ต้องทำลายสภาพกรดโดยใช้โซดาแอชหรือปูนขาว
    8.4 การกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากสารเคมี (Disposal Methods)
    -น้ำเสียที่เกิดจากกรดเกลือ ก่อนทิ้งต้องบำบัดให้เป็นกลางโดยใช้โซดาไฟ หรือปูนขาวการทิ้งเป็นไปตาม
    -กฏหมายสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
    8.5 การใช้สารดับเพลิง (Extinguishing Media)
     กรดเกลือเป็นสารที่ไม่ติดไฟ แต่ถ้าไฟไหม้เราสามารถใช้น้ำ,โฟม, ผงเคมีแห้ง หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดับไฟ
                 ทางบริษัทฯ ได้จัดจำหน่ายขนาดบรรจุถังละ 20 กิโลกรัม ยินดีจัดส่งทั่วประเทศ
          ต้องการสั่งซื้อสินค้า ติดต่อคุณอรพรรณ โทร 0979282936 , คุณศุภรดา โทร 0917708536

Copyright © 2012 by Viriya Interchem Co.,Ltd., รับทำเว็บ by WebsiteBigbang